เมนู

ดูก่อนคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่
เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน
ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อม
ไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อม
ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุ
ไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้น
ไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณ
อันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี
ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ดูก่อนคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล ที่สัตว์
บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน.
จบ วัชชีสูตรที่ 2

3. นาฬันทสูตร


ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่สัตว์ไม่ปรินิพพานและปรินิพพาน


[194] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริกัม-
พวันเมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล อุบาลีคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานใน
ปัจจุบัน อนึ่งเหตุปัจจัยอะไรที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูปทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้ง
ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่
ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น รูปนั้น เมื่อ
ภิกษุนั้นเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัย
ซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทาน
ย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่า
ภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุ
นั้นเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัย
ซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทาน
ย่อมไม่ปรินิพพาน ดูก่อนคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แลที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่
ปรินิพพานในปัจจุบัน.
ดูก่อนคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่า
ภิกษุไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิด-
เพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น
ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี. ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อม
ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุไม่
เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่
เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัย

ซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่
มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ดูก่อนคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แลที่สัตว์บางพวกใน
โลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน.
จบ นาฬันทสูตรที่ 3

อรรถกถาวัชชีสูตรที่ 2 - นาฬันทสูตรที่ 3


สูตรที่เหลือ มีอรรถดังกล่าวไว้ใน 2 สูตรนั้น และในสูตรที่ 3
นี้แล.
จบ อรรถกถาวัชชีสูตรที่ 2 - นาฬันทสูตรที่ 3

4. ภารทวาชสูตร


ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์


[195] สมัยหนึ่ง ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ พระวิหาร
โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล พระเจ้าอุเทนได้เสด็จไปหาท่านพระ-
บิณโฑลภารทวาชะ ทรงสนทนาปราศรัยกับท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ
ครั้งผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า
ท่านภารทวาชะ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล ที่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม
วัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความ
ระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต
และปฏิบัติอยู่ได้นาน ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวาย